วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

อาชีพ เภสัชกร

คุณสมบัติของเภสัชกร
1.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาเภสัชศาสตร์
2.มีสุขภาพกายและจิตดี ไม่พิการ ไม่ตาบอดสี มีมนุษย์สัมพันธ์ มีความเป็นผู้นำเพราะอาจทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยเฉพาะในงานการผลิต มีบุคลิกภาพดี
3.รักในอาชีพ มีความรับผิดชอบสูง
4.มีความสนใจในวิชาวิทยาศาสคร์ เคมีชีววิทยา และสอบได้คะแนนดีในวิชาเหล่านี้
5.ชอบค้นคว้า ทดลอง ใช้ปัญญาในการวิเคราะห์
6.ละเอียด รอบคอบ ช่างสังเกต
7.มีความซื่อสัตย์
8.ชอบการท่องจำ เพราะต้องจำชนิด ส่วนประกอบของยา ชื่อยาและชื่อสารเคมีในการรักษาโรค ชื่อและประโยชน์ของต้นไม้ที่มียาหลักสูตรการเรียนเภสัชศาสตร์
หลักสูตรมาตรฐานที่ใช้เรียนในคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีดังนี้
เภสัชภัณฑ์ (Pharmaceutics)
เคมีเภสัชภัณฑ์ (Pharmaceutical chemistry) หรือเคมีเวชภัณฑ์ (Medicinal chemistry)
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
จุลชีววิทยา (Microbiology)
เคมี (chemistry)
ชีวเคมี (Biochemistry)
เภสัชพฤกษศาสตร์ (Pharmaceutical Botany)
เภสัชวินิจฉัย (Pharmacognosy)
เภสัชอุตสาหกรรม (Industrial Pharmacy)
สรีรวิทยา (Physiology)
กายวิภาคศาสตร์ (anatomy)
อาหารเคมี (Foods Science)
เภสัชกรรม (Pharmacy)
กฎหมายยา (pharmacy law)
เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)
ไตวิทยา (nephrology)
ตับวิทยา (hepatology)
ปฏิบัติการเภสัชกรรม (Pharmacy practice) ประกอบด้วย ปฏิกิริยาระหว่างยา, การติดตามผลการใช้ยา (medicine monitoring) การบริหารการใช้ยา (medication management)
บริบาลเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)บูรณาการด้านการใช้ยากับผู้ป่วย และดูแลติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
การจดทะเบียนเป็นเภสัชกร
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยาแก่ประชาชนทั่วไป ประเทศต่าง ๆ จึงได้กำหนดบุคคลที่จะมาเป็นเภสัชกรจะต้องถูกฝึกอบรมมาอย่างถูกต้องและพอเพียงโดยการจดทะเบียน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนจะต้องมีคุณสมบัติและผ่านการสอบ ดังนี้
ประเทศไทย ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์ และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร ต้องผ่านการสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม จากสภาเภสัชกรรม ก่อน
ประเทศอังกฤษ ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร จะต้องฝึกงานทางด้านเภสัชกรรมอย่างน้อย 1 ปี ก่อนสอบรับใบอนุญาตจากสมาคมเภสัชกรรมอังกฤษ (Royal Pharmaceutical Society of Great Britain)
สหรัฐอเมริกา ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร จะต้องการสอบ 2 ด่าน ดังนี้
การสอบแนปเพลกซ์ (North American Pharmacist Licensure Examination-NAPLEX)
การสอบแนบพ์ (National Association of Boards of Pharmacy-NABP)
หน้าที่ของเภสัชกร
ส่วนมากเภสัชกรจะพบกับผู้ป่วยในจุดแรกด้วยการสอบถามปัญหาเกี่ยวกับสาธารณะสุขพื้นฐานโดยเฉพาะเกี่ยวกับยา การใช้ยา ผลข้างเคียงของยา ฯลฯ ดังนั้นหน้าที่ของเภสัชกรจึงคอนข้างกว้างซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
บริหารงานเกี่ยวกับการใช้ยาในทางคลินิก (clinical medication management)
การเฝ้าติดตามสถานการณ์ของโรคเฉพาะ (specialized monitoring) ที่เกี่ยวกับยาและผลของยาทั้งโรคธรรมดาและซับซ้อน
ทบทวนการใช้ยาอย่างละเอียดถี่ถ้วน (reviewing medication regimens)
ติดตามการรักษาโรคอย่างต่อเนื่อง (monitoring of treatment regimens)
ติดตามดูแลสุขภาพอนามัยทั่วไปของผู้ป่วย (general health monitoring)
ปรุงยา (compounding medicines)
ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยทั่วไป (general health advice)
ให้การศึกษาแก่ผู้ป่วยเป็นการเฉพาะ (specific education) เกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคและการรักษาด้วยยา
ตรวจสอบเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจ่ายยา (dispensing medicines)
ดูแลจัดเตรียม(provision)ยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์(non-prescription medicines)
ให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ป่วยถึงการใช้ยาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด(optimal use of medicines)
แนะนำและรักษาโรคพื้นๆทั่วไป(common ailments)
ส่งต่อผู้ป่วยไปยังวิชาชีพสาธารณะสุขอื่นที่ตรงกับโรคของผู้ป่วยมากกว่าถ้าจำเป็น
จัดเตรียมปริมาณยา (dosing drugs) ในผู้ป่วยตับและไตล้มเหลว
ประเมินผลการเคลื่อนไหวของยาในผู้ป่วย (pharmacokinetic evaluation)
ให้การศึกษาแก่แพทย์ (education of physicians) เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างถูกต้อง
ร่วมกับวิชาชีพทางด้ายสาธารณะสุขอื่นในการสั่งยา (prescribing medications) ให้คนไข้ในบางกรณี
ดูแล จัดเตรียม จัดหา และรักษาเภสัชภัณฑ์ให้อยู่สภาพพร้อมใช้งาน (pharmaceutical care)
สาขาวิชาชีพเภสัชกรรม
สาขาวิชาชีพเภสัชกรรมพอจำแนกได้ดังนี้:
เภสัชกรคลินิก Clinical pharmacist
เภสัชกรชุมชน Community pharmacist
เภสัชกรโรงพยาบาล Hospital pharmacist
เภสัชกรที่ปรึกษาการใช้ยา Consultant pharmacist
เภสัชกรสุขภาพอนามัยทางบ้าน Home Health pharmacist
เภสัชกรบริหารข้อมูลยา Drug information pharmacist
เภสัชกรสารวัตรยา Regulatory-affairs pharmacist
เภสัชกรอุตสาหกรรม Industrial pharmacist
อาจารย์เภสัชกร Academic pharmacist
สัญลักษณ์วิชาชีพ

"เฉลว" สัญลักษณ์ของเภสัชกรรมไทย
สัญลักษณ์ของวิชาชีพเภสัชกรรมมีความแตกต่างไปตามสถานที่และภูมิภาคเภสัชกรรมนั้นๆ สัญลักษณ์สากลทั่วไปสำหรับเภสัชกรรมคือโกร่งบดยาและเรซิพี (℞) เภสัชกรรมในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษมักใช้โชว์โกลบซึ่งเป็นโคมไฟแขวนเป็นสัญลักษณ์ของร้านยาในสมัยโบราณ ปัจจุบันองค์กรทางเภสัชกรรมทั่วไปโลกใช้สัญลักษณ์สากลสำคัญได้แก่ ถ้วยตวงยา ถ้วยยาไฮเกีย และคทางูไขว้ แต่ในภูมิภาคหรือบางประเทศมีสัญลักษณ์ทางเภสัชกรรมท้องถิ่น อาทิ ประเทศฝรั่งเศส อาร์เจนตินา สหราชอาณาจักร เบลเยี่ยม และอิตาลีใช้สัญลักษณ์กากบาทเขียว ในประเทศเยอรมนีและออสเตรียใช้สัญลักษณ์คล้ายอักษร A ในภาษาอังกฤษซึ่งย่อมาจากคำว่า Apotheke ในภาษาเยอรมัน และในประเทศไทยใช้เฉลวเป็นสัญลักษณ์ของเภสัชกรรมไทย
สาขาวิชาชีพ
สาขาวิชาชีพของเภสัชกรได้จำแนกออกตามสถานที่ปฏิบัติการของเภสัชกร อันได้แก่ ร้ายา โรงพยาบาล คลินิก อุตสาหกรรม และเภสัชกรนักการตลาด เภสัชกรในแต่ละสถานที่ปฏิบัติการจะมีความชำนาญแตกต่างกัน แต่ทุกสาขาจะมีความรู้พื้นฐานทางโลหิตวิทยา เนื้องอกวิทยา โรค ท่าทางที่เหมาะสม สารอาหารเสริม เภสัชสารสนเทศ กุมารเวชศาสตร์ เป็นต้น

เภสัชกรรมชุมชน

สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนในอิตาลี ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19
สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนหรือร้านยา คือสถานที่ปฏิบัติการส่วนใหญ่ของเภสัชกรทางด้านเภสัชกรรม ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยคลังยาและการกระจายยา การจ่ายยาของเภสัชกรต้องอ้างอิงถึงใบสั่งแพทย์และการซักถามประวัติผู้ป่วยในเรื่องการใช้ยาเพื่อจ่ายยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแก่ผู้ป่วย เภสัชกรทุกคนต้องอยู่ปฏิบัติการ ณ สถานที่ปฏิบัติการที่ตนสังกัดตลอดเวลาที่ให้บริการแก่ผู้ป่วย ทั้งนี้ครอบคลุมถึงแผนกเภสัชกรรมในห้างร้านต่างๆด้วย นอกจากสถานที่ปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนจะจ่ายยาแล้ว บางสถานยังเพิ่มสินค้าทางด้านเวชสำอางค์และเวชภัณฑ์อื่นๆ ตามความเหมาะสม
เภสัชกรรมโรงพยาบาล
ดูบทความหลักที่ เภสัชกรรมโรงพยาบาล
เภสัชกรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมีความแตกต่างกับสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน โดยมีหน้าที่ทางการจัดการด้านคลินิกการแพทย์ เนื่องจากภายในโรงพยาบาลมีงานที่ซับซ้อนกว่า อาทิ เภสัชวินิจฉัย รูปแบบการใช้ยาที่ปลอดภัยเนื่องด้วยยาที่ใช้ในโรงพยาบาลมีความซับซ้อนและมีปฏิกิริยาที่ต้องอยู่ในความควบคุมของเภสัชกร ดังนั้นในโรงพยาบาล เภสัชกรจึงมีความชำนาญเฉพาะด้าน อาทิ โลหิตวิทยา เนื้องอกวิทยา เอดส์ โรคเรื้อรัง บริบาลเภสัชกรรม การแพทย์ฉุกเฉิน พิษวิทยา เป็นต้น
เภสัชกรรมคลินิก

ดูบทความหลักที่ เภสัชกรรมคลินิก
เภสัชกรรมคลินิกเป็นอีกหนึ่งในบทบาทของเภสัชกรที่มีหน้าที่โดยตรงในการส่งเสริมสุขภาวะของผู้ป่วยด้านการใช้ยาและการป้องกันรักษาโรค เภสัชกรที่ปฏิบัติการในสาขานี้จะปฏิบัติทั้งในโรงพยาบาลและคลินิกทางเวชกรรมทั่วไป ซึ่งจะต้องทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลาการทางสาธารณสุขอื่นๆเพื่อการบริบาลทางเภสัชกรรมที่ดีขึ้น อาทิ การเลือกยาที่ถูกต้องเหมาะสม การติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย ในบางโรงพยาบาลของสหรัฐอเมริกาที่มีการใช้ยาอันตรายสูง จะต้องมีการควบคุมอย่างใกล้ชิดจากเภสัชกร
เภสัชอุตสาหกรรม
สัชดูบทความหลักที่ เภสัชอุตสาหกรรม
เภสัชกรที่ปฏิบัติหน้าที่ทางด้านอุตสาหกรรมคือการผลิตยาให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพและการวิจัยคิดค้นยาขนานใหม่ๆ การผลิตยาเพื่อให้ได้รูปแบบที่ใช้ง่ายและเหมาะสมกับช่องทางการรับยาของผู้ป่วย
สัตวเภสัชกรรม
สัตวเภสัชกรรมเป็นสาขาที่แตกต่างจากสาขาอื่นๆทั่วไปทางเภสัชกรรม เนื่องจากเป็นการบริบาลรักษาเรื่องการใช้ยาในสัตว์ จึงมีลักษณะของพื้นที่การเก็บยา กระบวนการใช้ยาที่แตกต่างไปจากมนุษย์ งานบริการด้านสัตวเภสัชกรรมมักจะแยกจากงานเภสัชกรรมสำหรับมนุษย์
เภสัชกรรมนิวเคลียร์
ดูบทความหลักที่ เภสัชกรรมนิวเคลียร์
เภสัชกรรมนิวเคลียร์เป็นสาขาที่เน้นไปทางการเตรียมธาตุกัมมันตรังสีเพื่อนำมาใช้เป็นยาในการบริบาลผู้ป่วย เภสัชกรที่ปฏิบัติงานด้านนี้ต้องได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษไม่เหมือนดั่งเภสัชกรรมชุมชนและโรงพยาบาล และจะไม่มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงต่อผู้ป่วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น